When the Holy Relic Came to Town : พิธีอัญเชิญพระบรมธาตุเจ้าเข้าเวียงเชียงใหม่
It’s a real pleasure living in Chiang Mai and being able to see Lanna’s culture firsthand. Hardly a week goes by without a celebration, festival, or religious ritual. This past weekend
a Royal Lanna Procession called “A Choen Phra Borom That Chao Khao Wiang Chiang Mai”, took place on June 10th – 12th, 2016 in celebration for the 720th Anniversary of the founding of Chiang Mai City and the 550th Anniversary of Wat Phra That Sri Chom Thong.
พระธาตุศรีจอมทอง ณ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นที่ประดิษฐานของพระทักขิณโมลีธาตุ หรือ พระบรมธาตุส่วนพระเศียรเบื้องขวาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีขนาดประมาณเมล็ดข้าวโพด สันฐานกลมเกลี้ยง สีขาวนวลเหมือนดอกบวบหรือดอกพิกุลแห้ง และเป็นพระธาตุประจำปีเกิดปีชวด
และเนื่องในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ โอกาสเฉลิมฉลองวาระสมโภช “๖๐ รอบนักษัตร ๗๒๐ ปี เมืองเชียงใหม่” และวัดพระธาตุศรีจอมทองอายุครบ ๕๕๐ ปี จึงได้มีพิธี “อัญเชิญพระบรมธาตุเจ้าเข้าเวียง” โดยอัญเชิญพระทักขิณโมลีธาตุจากวัดพระธาตุศรีจอมทองเข้าเวียงเชียงใหม่ และปฏิบัติตามธรรมเนียมประเพณีโบราณ โดยให้ขบวนพระบรมธาตุแวะที่ วัดต้นเกว๋น อำเภอหางดง ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ที่มีความสำคัญในอดีต คือ เป็นที่พักขบวนพระบรมธาตุศรีจอมทอง มีพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธามาร่วมสักการะ สรงน้ำธาตุ และตั้งโรงทาน รวมทั้งมีการสมโภชถวายสักการะตลอดวันและคืนในแบบฉบับล้านนา
On the first day, the procession carried a Buddha relic from Wat Phra That Sri Chom Thong to Wat Ton Kwen in Amphoe Hang Dong. Phra That Sri Chom Thong from Wat Phra That Sri Chom Thong Woraviharn is located in Amphoe Chom Thong, about 58 km from Chiang Mai city, and houses relics from the right part of the skull of Buddha. The relics are about the size of a corn seed. The contours are round and even off-white in color. The Phra That Sri Chom Thong is also the patron stupa of the year of the rat. Since Wat Ton Kwen is less than a kilometer from our house, we decided to join the procession there. A replica of the holy relic atop a statue of rat was one of the first floats to arrive at the temple.
Origin and History
During his lifetime, the Buddha had foretold that after he passed to Nirvana a relic of the right part of his skull would be at Wat Phra That Sri Chom Thong Woraviharn. Almost 2000 years later, a local couple found a phra and built a small chedi to install this relic along with a couple of Buddha images on that spot. This was a closely guarded secret. Some time later a rushi had a vision and told the temple’s abbot that there was a relic close by. The abbot and rushi performed a meditation ritual in order to find it. Although they were successful and had a vision of the phra that, they too kept it a secret. One day a visiting monk, who had studied the relic, questioned the abbot about it. The abbot revealed that the relic was in fact in the chedi and a temple was built on the site. However, during a war with Burma, the phra that mysteriously disappeared. In 1779, after the wars with Burma ended, Phraya Wichian Prakarn, the ruler of Chiang Mai, performed a ritual once again to locate the relic. It was found and with great ceremony, it was paraded on elephants and ponies into Chiang Mai city. The celebration continued for 7 days and nights, then it was brought back to the temple.
ตามตำนานกล่าวว่า ครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงทำนายไว้ว่าพระบรมธาตุส่วนพระเศียรเบื้องขวาของพระพุทธองค์จะมาปรากฏอยู่ ณ วัดพระธาตุศรีจอมทองในปัจจุบัน เวลาผ่านไปเกือบสองพันปีหลังพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพาน จึงได้มีผู้พบพระธาตุและสร้างเจดีย์ไว้ในบริเวณวัดพระธาตุศรีจอมทองนั้นเอง แต่ครั้นเมื่อยามสงครามกับพม่า พระบรมธาตุได้อันตรธานหายไปไม่มีผู้ใดพบเห็น จวบจนสิ้นสงคราม พระยาวิเชียรปราการ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้ให้นายช่างทองสร้างโกศเงินและโกศทองคำเพื่อจะได้นำไปประกอบพิธีบรรจุพระบรมธาตุเจ้าศรีจอมทองที่สูญหายไปตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๑๔ แล้วสั่งอำมาตย์ทำพิธีอาราธนาอัญเชิญพระบรมธาตุเจ้าตามประเพณีถึงสองครา จนกระทั่งถึงแรม ๔ ค่ำ เวลาก๋องงาย (๑๙.๐๐ น.) พระบรมธาตุเจ้าก็ได้เสด็จมาปรากฏในคูหาปราสาทตามคำอธิษฐาน จากนั้นได้อัญเชิญพระบรมธาตุเข้าไปในเมืองเชียงใหม่ ทำการสระสรง และถวายทานต่างๆ นาน ๗ วัน ๗ คืน จึงได้อัญเชิญพระบรมธาตุเจ้ากลับคืนไปประดิษฐานไว้ที่วัดพระธาตุศรีจอมทองตามเดิม
Wat Ton Kwen : วัดต้นเกว๋น
Wat Ton Kwen is prized for its Lanna architecture which dates back to 1856 CE. It was founded during the reign of King Kawilorot Suriyawong and has been granted an Architectural Conservation Award for Chiang Mai of Architectural Heritage in Thailand. In addition to an ancient mural painting inside the viharn, it is the only temple remaining where you can see a perfect four-porched Lanna-style mondop (pavilion).
วัดอินทราวาส หรือ วัดต้นเกว๋น ตั้งอยู่ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๙๙ ในสมัยพระเจ้ากาวิโลรส สุริยวงศ์ มีศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมตามแบบฝีมือช่างหลวงล้านนาที่ทรงคุณค่า เช่น มณฑปจตุรมุขแบบพื้นเมืองล้านนาซึ่งพบเพียงหลังเดียวเท่านั้นในภาคเหนือ ภายในมณฑปจตุรมุขมีอาสนะสำหรับตั้งโกศพระบรมธาตุและรางรินสรงน้ำที่เคยใช้ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุอยู่ อีกทั้งยังมีวิหารแบบล้านนาโบราณอายุกว่าร้อยปี อันเป็นต้นแบบของต้นแบบหอคำหลวงในอุทยานราชพฤกษ์
The atmosphere at the temple was quite lively. Traditional poet singers were singing along with the lanna music provided by a small band to tell their lifestyle, dhamma, and story about this ceremony. It seemed the whole community had turned out, dressed in traditional Lanna attire.
ระหว่างที่เรานั่งรอขบวนมาถึงวัดต้นเกว๋น ก็นั่งฟังเล่าค่าว-จ๊อยกะโลง อันเป็นวรรณกรรมที่มีคุณค่าทางด้านภาษาของล้านนา มีความสุนทรียะ บอกเล่าเรื่องราว แสดงออกถึงภูมิปัญญาและวิถีชีวิต แฝงด้วยคติธรรมและสุภาษิตสอนใจ ด้วยสัมผัสคล้องจองคล้ายกาพย์หรือกลอน คลอด้วยเสียงดนตรีพื้นเมือง ฟังแล้วต้องเดินไปถ่ายภาพมาให้ชมกัน
The Procession : ขบวนพระบรมธาตุเจ้าเข้าเวียง
The next day, the procession continued to Wat Suan Dok to perform a royal ceremony dedicated to the past Kings and royal families of Ching Mai. Then a new long parade was set up and first traveled to the old city at Chang Puak Gate, then continued to Three Kings Monument. At the Three Kings Monument, there were some celebrations, prayers, local performances, and pouring of special water on the holy relic. And June 12th, the procession returned back to Wat Phra That Sri Chom Thong.
เช้าวันต่อมาขบวนพระบรมธาตุเดินทางออกจากวัดต้นเกว๋นไปยังวัดสวนดอก เพื่อประกอบพิธีทำบุญทักษิณานุปทานถวายบุรพกษัตริย์ภายในวิหารหลวง จากนั้นจัดแต่งขบวนเดินเท้าความยาวกว่า ๓ กิโลเมตร ตามพิธีโบราณประกอบด้วยขบวนเครื่องสูง เครื่องสักการะ ขบวนม้า การประโคมดนตรี และขบวนฟ้อน ตลอดเส้นทางผ่านมีประชาชนออกมาร่วมสักการะและโปรยข้าวตอกดอกไม้ ขบวนพระบรมธาตุเข้าเมืองเชียงใหม่ทางประตูช้างเผือกไปยังมณฑลพิธีอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ เพื่อประกอบพิธีสมโภช, เจริญพระพุทธมนต์, สวดมนต์ตั๋น, แสดงพระธรรมเทศนา ๔ กัณฑ์, ธรรมจักรกัปวัตนสูตร, สรงน้ำพระธาตุ และในวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๙ มีพีธีทำบุญตักบาตรเช้าแด่พระสงฆ์และสามเณร จำนวน ๗๒๑ รูป เริ่มจากมณฑลพิธีไปตามถนนพระปกเกล้า ถนนราชดำเนิน จนถึงข่วงประตูท่าแพ ก่อนจะอัญเชิญพระทักขิณโมลีธาตุกลับสู่วัดพระธาตุศรีจอมทอง
With cooperation of the Governor of Chiang Mai, members of the Lanna royal family, local dignitaries, the military, and the police. Chiang Mai people, professors, and students from the Fine Art faculty of Chiang Mai University dressed in traditional Lanna costumes to take part in the procession.
ด้วยความร่วมมือจากภาครัฐ เอกชน ทหาร ตำรวจ และประชาชน รวมทั้งคณาจารย์และนักศึกษาจากคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมฟื้นฟูจารีตประเพณีโบราณและจารึกประวัติศาสตร์ครั้งนี้ ซึ่งเราและชาวเชียงใหม่ยังไม่สามารถทราบได้ว่าอนาคตภายหน้า อีกกี่ปีถึงจะมีโอกาสได้ร่วมพิธีอัญเชิญพระบรมธาตุเจ้าเข้าเวียงเชียงใหม่อีกครั้ง
This parade and celebration is only performed on auspicious years in Chiang Mai and no one knows when it will happen again. This was only the 6th time since the first celebration some 200 years ago.
เที่ยวเมืองไทย ยิ้มสุขใจ ค้นหาสิ่งแปลกใหม่ ชื่นชมความสวยงาม เปิดใจและโลกทัศน์ให้กว้าง… พบกันใหม่บล๊อกหน้าค่ะ
!!..คลิ๊กแผนที่..!! ดูภาพสวยๆ อ่านบล็อกสถานที่ท่องเที่ยวจาก THAILAND 180º ได้นะคะ อัพเดทเพิ่มเติมตลอดค่ะ
We had to eliminate the ability to comment from this WordPress site due to excessive spam. If you enjoyed this story, subscribe using the “Subscribe” button below, or visit our Facebook fan page to comment Here
We’d LOVE to hear from you!
ผู้ติดตามอ่านบล็อก สามารถติดตามอัพเดทโพสต์บล็อกได้โดยสมัครสมาชิกที่บล็อกนี้ หรือ กดไลค์เฟสบุ๊คเพจของเราที่นี่ Here
Blog : Thai by Apisatha Giunca
Blog : English by George Edward Giunca
About the Authors
Photographer George Edward Giunca, and his Thai wife, Apisatha, have traveled around Thailand armed with a circular fisheye lens to create a photo essay on the rich cultural diversity and abundant natural beauty of the Kingdom of Thailand. Fleeing from angry water buffaloes, slapping huge mosquitoes, watching exotic festivals and religious rituals, gorging on delicious spicy food, applying aloe vera cream to sunburned skin, wading through rice paddies, getting drenched to the bone by heavy monsoon rains, and gawking at breath-taking scenery; made it a journey of epic proportions! The result is the book, THAILAND 180º. Later, they traveled extensively through Myanmar, Malaysia, and India, gathering a massive collection of 180º photos. They currently live in Chiang Mai where they continue to blog and are now working on a CHIANG MAI 180º book.
Here’s How to Order Your Copy of THAILAND 180º Collectors EditionToday!
In Thailand —>>>http://www.thailand180.com/thaiorder.html
The Rest of the world: We are offering our book on Amazon.com, below list price and I’ll pay for the shipping within the United States! http://amzn.to/1knDPRR
Not Familiar with Our Book???
This show details the origin of 180 Books, a series of art/travel books illustrated with a circular fisheye lens. By using infographics, pictures from our THAILAND 180º book, and never seen before images from our vault, we’ll demonstrate this unique lens and present our unique books.
Also, because there’s nothing to watch on TV, here’s a trailer about our book, “THAILAND 180”
Above is an interactive map of Thailand. If you click on a marker it reveals a photo from our THAILAND 180º book and a link to our blog article about the photo. Go Ahead~ Start Exploring ~Have Some Fun!