A Quest for Bombay Duck ~ ตามล่าหา “บอมเบย์ดั๊ค”!!!
After eating a steady diet of lamb and chicken during our travels in India, I knew my wife was looking for something different. While we were waiting for our flight at the airport, I casually mentioned that our next destination had a famous dish called Bombay Duck. Like many people, I had learned about Bombay Duck (BBD) on a quiz show, but Fon had never heard of it and was determined to try some in the city formally known as Bombay.
We started at sunrise the next day with a visit to the train station.
ครุคริๆ อิๆ .. ดีใจจัง ทานแพะ-แกะ-ไก่ วนไปเกือบร้อยมื้อแล้วตั้งแต่เดินทางมาอินเดียได้หนึ่งเดือน คราวนี้จะได้กิน “เป็ด” ซะที บินมาถึงสนามบินมุมไบค่ำแล้วค่ะ ตอนเช้าค่อยออกปฏิบัติการ
The architecture of the Chhatrapati Shivaji Terminus Office Building was stunning from the outside. Next to this building was the actual train terminal. It had all the big-city feel of Grand Central Station, brimming with bustle and energy. Just look at the Gothic rib-vaulted ceilings! Although the trains from here once were packed with BBD, there was none in sight.
เริ่มภารกิจที่นี่ “อาคารสำนักงานสถานีรถไฟฉัตรปติศิวาจี” .. งดงามและมีความโกธิค (เสียงสูง) เดินต่อไปยังส่วนของสถานีรถไฟที่ชาวมุมไบใช้เดินทางมาทำงานกัน คนที่นี่เขาเดินกันเร็วมาก รู้สึกถึงพลังขับเคลื่อน มันมีมูฟเม้นท์ มีเอ็นเนอร์จี้ มีความเป็นเมือง เป็นศูนย์กลางที่ต่างคนต่างมุ่งหน้ามาสู่มหานครมุมไบแห่งนี้ สถานีรถไฟฉัตรปาตีศิวะจีมีความโอ่โถง เพดานสูงมีโครงสร้างทรงโค้งมีสันตามแบบฉบับสถาปัตยกรรมแบบกอธิค จึงไม่รู้สึกถึงความแออัดเลยแม้แต่นิดเดียว ที่นี่แหละที่เคยเป็นศูนย์กลางขนส่ง “บอมเบย์ดั๊ค” ไปทั่วดินแดนภารตะ
The Knesset Eliyahu Synagogue
Mumbai is a city best explored by a private luxury tour complete with a guide that loves walking and a patient driver to maneuver the car through the traffic and stop whenever a great photo opportunity is spotted. The streets are clean with a variety of different building styles ranging from European Gothic to Asian shop houses. Our guide quickly learned that we didn’t just want to see the usual sites and museums, we wanted more. He lead us down a side street to a well-guarded building that turned out to be a beautiful synagogue. The guards were friendly and the caretaker, although surprised to have tourists as visitors, agreed to let us inside and make photographs. I should mention here, that rules constantly change and sometimes some buildings are off-limits to tourists and cameras. Usually, our guide along with our polite smiles and interest were enough to obtain permission.
การจะเที่ยวเมืองเมืองหนึ่งเพื่อชมความยูนีค เราจะมาแบบชะโงกทัวร์ไม่ได้นะคะ ต้องจัดเต็มแบบลักซ์ชัวรี่ทัวร์ไปเล้ย มหานครใหญ่อย่างนี้ต้องมีเดินชิลๆ ตามตรอกซอกซอยถึงจะได้ประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใคร …ตามมาค่ะ… อะไรนะคะ? ..ไม่ต้องกลัวว่าจะมีขี้หมาค่ะ แล้วก็ไม่เห็นมีสุนัขจรจัดเลย ต่างกับบ้านเราเนอะ .. ในซอยที่รถเข้าได้ก็จะมีตึกร้านค้าติดๆ กัน เป็นทั้งที่พักอาศัยและที่ประกอบธุรกิจสำนักงานขนาดย่อม แต่ตึกนี้ทำไมมีระบบรักษาความปลอดภัยหนาแน่นจัง มีคนใส่หมวก สวมเสื้อกันกระสุน ถือปืนยาวด้วย ขอเผือกนิดนึงว่าที่นี่คือธนาคารหรืออะไรกันนะ!?! … ได้ความว่าที่นี่คือ “ซินนากอก” หรือสถานที่สวดมนต์และประกอบศาสนาของชาวยิวที่อาศัยอยู่ในมุมไบ แล้วเราก็เลยสนทนากับผู้ดูแลสถานที่และได้รับอนุญาตให้เข้าไปชมข้างใน ยิ่งไปกว่านั้นยังอนุญาตให้เราถ่ายภาพด้วย …อ๊ะ เริ่ดป๊ะล่ะ! ***ขอบอกต่อแก่ผู้อ่านบล็อกนิดนึงค่ะว่า มีหลายสถานที่ในอินเดียที่ห้ามถ่ายภาพ! รวมถึงบางแห่งห้ามนำกล้องเข้าไปโดยเด็ดขาด และที่สำคัญคือ ก่อนท่านจะถ่ายภาพใครหรืออาคารบ้านเรือนหรือสถานที่ของใคร ท่านควรยิ้มทักและขออนุญาตเขาก่อนทุกครั้งตามมารยาทอันควรกระทำนะคะ
The Taj Mahal Palace Hotel in Mumbai
Next, we took a peek in the luxurious five-star hotel, The Taj Mahal Palace Hotel . This hotel is always in the top-ten ranking of hotels around the world, and it didn’t take long to see why. Look at the royal appointments! Foreign dignitaries, Bollywood stars, and those pretending to be, came and went as we soaked up the atmosphere. I wanted to check the menu at the hotel restaurants, but I was feeling out of place in my travel clothes. I’m afraid that I can’t confirm if they serve BBD.
ลักซ์ชัวรี่ต่อที่โรงแรมเดอะ ทาช มาฮัล พาเลซ โรงแรมหรูระดับ 5 ดาว เป็นหนึ่งโรงแรมสุดหรูของมหานครมุมไบ ไม่ใช่เพียงแค่ความหรูหราโอ่อ่าเท่านั้น หากแต่ให้บริการชั้นเลิศพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกระดับเวิลด์คลาสแก่ผู้เข้าพัก อยากจะเข้าไปห้องอาหารหรูของโรงแรม แต่ว่าวันนี้ใส่ชุดแบบนักท่องเที่ยวมาเลยขอบายดีกว่า ไม่ทราบเหมือนกันว่าที่นี่เขาเสิร์ฟ “บอมเบย์ดั๊ค” รึเปล่า คหสต.-ขึ้นชื่อว่าบริการชั้นเลิศระดับเวิร์ลคลาส ถ้าลูกค้าอยากทานเขาคงหามาเสิร์ฟได้ไม่ยากล่ะค่ะ
James Ferreira and the Khotachi Wadi Neighborhood
James Ferreira, and his eponymous label is legendary in Mumbai and throughout the world. He was a pioneer in the Indian fashion, textile, and media business. He is known for the flowing of his garment designs and has been called a master draper. His fashion creations uniquely combine western style with Indian crafting and technique. I was excited to see his two-story design house in the Portuguese 200-year-old neighborhood of Khotachi Wadi. I didn’t know what to expect but seeing the workspace of any artist always interests me. I had read that he had a maternal ancestor that was a Portuguese ambassador to India in the 17th century and loves regaling visitors with the area’s rich history when his schedule allows. Unfortunately, Mr. Ferreira was not at home. Still, I had just obtained permission to make photographs of the interior, when suddenly his studio filled with customers. We left soon afterward, not wanting to overstay our welcome and intrude.
เมื่อพูดถึงแฟชั่น เหล่าเซเล็บและไฮโซแห่งมหานครมุมไบไม่มีใครไม่รู้จัก James Ferreira ดีไซเนอร์ระดับแถวหน้าของอินเดีย และเป็นเจ้าแบรนด์ห้องเสื้อ “James Ferreira” อีกทั้งยังเป็นดีไซเนอร์ยุคบุกเบิกแห่งวงการแฟชั่น สิ่งทอ และมีเดียของอินเดียเลยทีเดียว … รออะร๊ายยย.. ตามมาที่นี่ “Ferreira House” บ้านสองชั้นสไตล์โปรตุกีสอายุกว่า 200 ปี ที่มีเหลือเพียงไม่กี่หลังในมหานครมุมไบ เป็นทั้งพิพิธภัณฑ์, สตูดิโอห้องเสื้อ, และบ้านพักส่วนตัวของคุณเจมส์ เนื่องด้วยคุณเจมส์สืบเชื้อสายมาจากท่านเอกอัครราชทูตโปรตุเกสในช่วงศตวรรษที่ 17 ขณะที่อินเดียถูกครอบครองโดยอังกฤษ คุณเจมส์ได้รับมรดกและอนุรักษ์บ้านหลังนี้ให้คงความเฮอริเทจในสไตล์โปรตุกีสทุกกระเบียดนิ้ว ทั้งพื้นกระเบื้องเซรามิคเขียนมือ, เพดานสูงและมีไม้เป็นคานเป็นสันแนวกอธิค, เฟอร์นิเจอร์ไม้เนื้อแข็ง และประดับโคมไฟเพดานหลากสีสัน
Thieves Market
After another short scenic walk, we arrived at the 150-year-old Thieves Market, also known as Chor Bazaar. One really has to be careful with their wallet here! Not because of theives, but because you might spend all of your money on all the great stuff. Our suitcases were already bulging with Hindu tiles, cashmere shawls, and other must-have souvenirs from our extended visit, so I knew that seeing market was going to be heartbreaking. I took a few photos and headed back to the car. To this day, Fon still talks about the turtle-shaped coconut husker that she regrets not buying.
แอบเก็บสไตล์และดีไซน์ออกไปค้นหาของเก่า ดูแพง ดูแปลก แต่เลอค่า แถวๆ Thieves’ Market หรือ ชอร์บาซาร์ ที่มีอายุ 150 กว่าปีกัน ของเพียบ! ตามชื่อเลยอ่ะ “ตลาดโจร” มันมีแทบทุกอย่างจะขาดก็แต่เรือรบเท่านั้นแหละ บอกเลยว่าเยอะมาก อ้อ! ระวังกระเป๋าสตางค์ด้วยนะคะ .. ไม่ใช่ระวังโดนโขมย .. แต่ระวังกระเป๋าฉีก!! .. อยากจะหอบเอากระต่ายขูดมะพร้าวกลับบ้านจังเลย เพราะตรงที่นั่งคล้ายหลังเต่ากว้างงงงง นั่งสบาย เหมาะกับบั้นท้ายของอิชั้นมาก ^^ ส่วนคุณเอ็ดเวิร์ดก็อยากได้บัตเตอร์แลมป์ทรงสูงๆ จะเอากลับยังงัยล่ะเพ่ .. แค่กระเบื้องสามกล่อง + ซ่าหรีจากจัยซัลเมียร์ และ ผ้าแคชเมียร์อีกเป็นสิบๆ ผืนก็เต็มกระเป๋านึงแล้วอ่ะ!!
Time Out for a Milk Sweet Treat
To cheer ourselves up, we went to the Parsi Dairy Farm that has been at the same location on Princess Street for more than 100 years. They specialize in milk sweets and should be on your Mumbai bucket list. Dairy products are delivered daily fresh from their farm and are transformed into butter, curds, ghee, kalfi, lassi, and the sweets shown above to name just a few. We immediately focused on a gourmet dessert consisting of two fish-shaped pieces wrapped in silver leaves. This is the famous Mawa Ni Boi, which is made of milk that has been reduced from 5 parts to one by slowly simmering on a stove then mixing with powdered almond and pistachio nuts. After a few more secret ingredients are added, a fish mold is lined with silver leaf and the concoction is poured in. After it sets, they’re removed from the mold and refrigerated. The Parsis –fish symbolize protection, prosperity, good fortune in their Zoroastrian folklore. The family emigrated from Iran a century ago and are a part of the Parsi community that are philanthropists and support various charities and historical preservation causes around Mumbai.
ไปหาของอร่อยกินปลอบใจดีกว่า …อ้าว แล้วเป็ดล่ะ!!… เดี๋ยวขอแวะร้านนี้ก่อนนะคะ ไม่ใช่แวะธรรมดาแต่ถลาเข้าใส่เลยค่ะ เพราะชอบขนมอินเดียมากถึงมากที่สุด โดยเฉพาะร้านที่เขาว่ากันว่าเปิดมานานครบศตวรรษ ไม่ย้ายไปไหน อยู่ตรงนี้ และรสชาตินี่ยังคงความเข้มข้นหอมนมเนยมากๆ ร้านนี้ชื่อ “Parsi Dairy Farm” ป้ายชื่อร้านสีฟ้าสดโดดเด่นริมถนนพริ้นเซสสตรีท เราแนะนำให้คุณมาชิม นมสดของแท้มีรสและกลิ่นคนละเรื่องกับนมที่เราเคยดื่มเลยค่ะ ของเขาเป็นนมสดจากฟาร์ม สด-ใหม่ทุกวัน รวมทั้งพวกเกิร์ด, นม, เนย, กี, คัลฟี่, ลาซซี่, และขนมหวานต่างๆ มันมีความหอมหวาน มีความเป็นนมเนย รสชาติลักซ์ชัวรี่เว่อร์ๆๆ ที่สุดจะบรรยาย .. “แล้วอันนี้ คืออะไร? เค้กปลาเหรอ?” — ไม่ใช่ค่ะ … เขาบอกว่าเป็นขนมระดับกูร์เมต์คูซีน ชื่อว่า “Mawa Ni Boi” ทำจาก khoya / khoa / mawa แล้วแต่จะเรียก ซึ่งก็คือ น้ำนมที่ผ่านกรรมวิธีการต้มโดยใช้ไฟต่ำเป็นเวลานานจนส่วนที่เป็นน้ำระเหยไปเหลือเพียงส่วนที่เป็นไขมันนมข้นๆ นำมาผสมกับอัลมอนด์ และถั่วพิสตาชิโอ กดลงบนพิมพ์รูปปลาที่มีแผ่นเงินปิดรองไว้ จนออกมาเป็นรูปปลาสีเงินตามภาพ — “ปลา” เป็นสัญลักษณ์ของการปกป้องคุ้มครอง, โชคดี และ มีความเจริญรุ่งเรืองในศาสนาโซโรอัสเตอร์ … ซึ่งเจ้าของร้านนี้เป็นชาวปาร์ซี (Parsi) สืบเชื้อสายจากชาวเปอร์เซียนที่อพยพจากอิหร่านมาตั้งถิ่นฐานในอินเดียกว่าร้อยปี อีกทั้งชาวปาร์ซียังมีบทบาทขับเคลื่อนพัฒนาสังคม ศิลปะ วัฒนธรรม และช่วยเหลือสังคมผ่านมูลนิธิต่างๆ ในมหานครมุมไบมากมาย … อิ่ม อร่อย ได้ความรู้ด้วย
Exploring the Historical Fishermen Community
Originally, the people of Mumbai were fishermen but later the area declined, and it became known as a slum. The word slum is a bit of a misnomer as 55% of the people in Mumbai, about 17 million, live in areas like this, and roughly 8 million of this population could be considered wealthy since they have their own businesses and can afford to send their children abroad to study in the UK or America. We saw the plaque above on one of the city walls; I was reminded that this community, situated on the Arabian Sea, once were the procurers of BBD. We had our guide ask around and were given directions to a place that would surely serve this elusive dish.
ไปหาเป็ดต่อ … มีคนบอกให้มาที่ชุมชนนึงดูคล้ายจะเป็นชุมชนชาวประมง!?!?! อืม.. เขาบอกมา เราก็ไปค่ะ เพราะมุมไบในอดีตก่อร่างสร้างตัวมาจากชุมชนชาวประมงก่อนที่จะตกอยู่ภายใต้การปกครองของโปรตุเกสและอังกฤษ ปัจจุบันชุมชนดั้งเดิมเหล่านี้กลายเป็นชุมชนแออัด — แต่ๆๆ ไม่ธรรมดานะคะ ที่ว่าไม่ธรรมดาเพราะพวกเขาเหล่านี้มีกำลังซื้อสูงมากแม้จะอาศัยอยู่ในชุมชนแออัดแบบนี้ก็ตาม จำนวนไม่น้อยเลยที่เป็นเศรษฐีร้านทอง ร้านอัญมณีเครื่องประดับ อุตสาหกรรมเครื่องหนัง ยา ขนมขบเคี้ยว บอกเลยว่าประชากรของมหานครมุมไบกว่า 55% หรือ ประมาณ 8 ล้านคนอาศัยอยู่ในชุมชนแออัดก็จริง แต่มีมากกว่า 5 ล้านคนในชุมชนแออัดเป็นผู้ที่มีฐานะดีมีอันจะกินอย่างเหลือเฟือในระดับที่ส่งบุตรหลานไปศึกษาต่อที่อังกฤษและสหรัฐอเมริกาได้อย่างสบายๆ จงอย่าได้ดูถูกเพียงเพราะพวกเขาผิวคล้ำ สวมเสื้อผ้าธรรมดา และอาศัยอยู่ในชุมชนแออัดนะคร้า … ปล.ยังไม่เจอเป็ดสักตัว เลยถามคนที่นี่ว่าจะตามหา “บอมเบย์ ดั๊ค (Bombay Duck)” ได้ที่ไหน มีคนบอกตำแหน่งที่ชัดเจนให้เลยค่ะ เขาบอกว่าไปที่นี่ เจอแน่นอน!
Our Quest is Over~Almost
A short ride later, our driver stopped in front of a building that didn’t look like a restaurant. People were carrying plastic bags full of ice and something else. Puzzled, we went inside what turned out to be a large wholesale fish market. We made our way from room to room through the fog created by dry ice and the smoke meant to repel insects with our fearless guide leading the way. There were huge baskets and piles of fish everywhere, but finally, our quest was over. By this time Fon sensed that I had been teasing her about the BBD and it was time for me to tell the truth.
The etymology of Bombay Duck is a bit questionable. It seems that when the British occupied India, the train was used to transport mail and cargo, including seafood, often in the same cars. The Hindi name for the carriage was “dak” and sundried fish were loaded in Bombay. Supposedly, both passengers and cargo absorbed the odor of the fish, leading to the expression, “You smell like a Bombay Dak.” -Which later became duck. Today the fish appears on menus as Bombil, which sounds better than its real name, Lizard fish. Alais, we never got to try it this delicacy during our stay in Mumbai, and it wasn’t until a week later in Goa, that we sampled some freshly cooked lizard fish. It was fried, soft and sweet, not fishy tasting at all. It arrived on the plate served with sliced shallots and lime. How did it taste? I’m embarrassed to say it, but it was so good that it was gone in seconds and I never stopped to take a photo.
พี่คนขับรถขับมาจอดหน้าอาคารแห่งหนึ่ง แต่ดูจะไม่ใช่ร้านอาหาร เพราะคนที่เดินเข้าออกถือถุงพลาสติกบ้าง เข็นรถบ้าง แบกกระสอบน้ำแข็งบ้าง สงสัยจะพามา “ตลาดสด” … โอ้ว ขุ่นพระ! หมอกจางๆ และควัน + พื้นแฉะๆ และไอเย็นๆ !มันคือตลาดปลา! เดินวนไปค่ะ จนเริ่มมีอารมณ์ประมาณว่า ไหนวะเป็ด! พามาตลาดปลาทำไมเนี่ย? คนขายปลาบอกว่าก็ทั้งแถบโน้นนั่นแหละ คือ “บอมเบย์ ดั๊ค (Bombay Duck)” … จริงง่ะ? นี่คือปลาไม่ใช่เหรอ — อีนี่แหละจ้านายจ๋า (ส่ายหัวนิดๆ) นามนี้ได้มาในช่วงสมัยอินเดียเป็นอาณานิคมของอังกฤษ เริ่มมีรถไฟใช้เพื่อคมนาคม ขนส่งจดหมายพัสดุไปรษณีย์ และสินค้าต่างๆ รวมถึงปลาทะเลแดดเดียวจากชุมชนประมงจากบอมเบย์ไปทั่วอินเดีย ซึ่งภาษาฮินดีเรียกการขนส่งนี้ว่า “Dak” กลิ่นปลาทะเลแดดเดียวมันแรงกว่าปลาสดๆ แล้วก็ติดทนนาน ทำให้ทั้งผู้โดยสาร, สินค้า และจดหมายต่างๆ ที่มากับขบวนรถไฟขนส่ง มีกลิ่นเหมือนปลาแดดเดียวจากบอมเบย์กันหมด จนเกิดเป็นวลีใช้จนติดว่าเวลาได้กลิ่นปลาแดดเดียวว่า กลิ่นเหมือนบอมเบย์ดั๊ค จนเพี้ยนไปสะกดเป็น “Duck” ซึ่งจริงๆ แล้วปลาบอมเบย์ดั๊ค คือ lizard fish นั่นเองค่ะ — สุดท้าย ไม่ได้ทานที่มุมไบ แต่ได้ทานที่เมือง Goa — จัดไป “บอมเบย์ดั๊คชุบแป้งทอด (Bombil Fry)” เป็นแบบปลาสดไม่ใช่แดดเดียว สดจริงอะไรจริง เนื้อยังหวาน ขาวๆ ใสๆ ไม่คาว กรอบนอกนุ่มใน เสิร์ฟพร้อมหอมซอยและมะนาว … หอม-หิว-หมดเกลี้ยงในพริบตา อุ๊ต๊ะ! ลืมถ่ายภาพไว้ให้ดูเลยค่ะ
Luxury Travel Goes Beyond
As we were at the airport ready to say goodbye to India, we had a chance to chat with some other tourists. Some travelers had a completely different view of the country than we did. Our takeaway is that cheap tours can give a bad impression of India. On the other hand, were some well-heeled travelers that spent the whole time comparing the spas and hotels with those in other European countries. I feel like they never got a chance to experience India! I suggest that you look for tour company that understands that true Luxury Travel goes beyond the spas, private dinners, shopping malls. Find one that understands the importance of building memories and doing/showing the nearly impossible to their customers.
ไปเที่ยวทั้งที มันต้องให้สุดๆ แบบที่นักท่องเที่ยวระดับลักซ์ชัวรี่เขาอยากลองอยากโดน … มัวมาชะโงกทัวร์ ก็คงได้แค่กลับไปบอกใครต่อใครว่า อินเดียสกปรก กลิ่นตัวแรงสลบ อาหารไม่ถูกปาก อย่างนู้นอย่างนี้ … เรามาแบบลักซ์ชัวรี่ทราเวล คือ อยากไปไหน อยากทำอะไร บอกบริษัทนำเที่ยวไปให้หมด จะจัดให้ได้หรือไม่ได้เขาก็จะหาทางจัดให้จนได้ … !!คุณคะ! ตื่นค่ะ! … นิยามของคำว่า “ลักซ์ชัวรี่ทราเวล (Luxury Travel)” มันไปไกลกว่าคำว่าโรงแรมระดับ 5-6 ดาว, ล่องเรือยอร์ช, สปา หรือช้อปปิ้งมอลล์แล้วนะคะ! เดี๋ยวนี้เขาเน้นความยูนีคในเชิงประสบการณ์แปลกแตกต่างและควรค่าแก่การจดจำแห่งการเดินทาง กลุ่มลักซ์ชัวรี่นี้พร้อมจ่ายไม่อั้น โดยเฉพาะอะไรที่เงินซื้อไม่ได้ (money can’t buy) และ อะไรที่บอกว่าเป็นไปไม่ได้ (it’s impossible) … นี่แหละคือ คีย์ ระดับเวิร์ลคลาสของการท่องเที่ยวในกลุ่มลักซ์ชัวรี่ของจริงที่ธุรกิจการท่องเที่ยวต้องตอบโจทย์ค่ะ
***หมายเหตุ : “กอทิก” เป็นคำที่สะกดตามราชบัณฑิตยสภา …แต่มันไม่ชิค! เอ้ย มันไม่ตรงกับลิ้นเวลาออกเสียง “th” ดังนั้นในบล็อกของฝนจึงสะกดว่า “โกธิค” หรือ “กอธิค” นะคะ
!!..คลิ๊กแผนที่..!! ดูภาพสวยๆ อ่านบล็อกสถานที่ท่องเที่ยวจาก THAILAND 180º ได้นะคะ อัพเดทเพิ่มเติมตลอดค่ะ
If you enjoyed this story, subscribe using the “Subscribe” button below, or visit our facebook fan page to comment Here
We’d LOVE to hear from you!
ผู้ติดตามอ่านบล็อก สามารถติดตามอัพเดทโพสต์บล็อกได้โดยสมัครสมาชิกที่บล็อกนี้ หรือ กดไลค์เฟสบุ๊คเพจของเราที่นี่ Here
Blog : Thai by Apisatha Giunca
Blog : English by George Edward Giunca
About the Authors
Photographer George Edward Giunca, and his Thai wife, Apisatha, have traveled around Thailand armed with a circular fisheye lens to create a photo essay on the rich cultural diversity, and abundant natural beauty of the Kingdom of Thailand. Fleeing from angry water buffaloes, slapping huge mosquitoes, watching exotic festivals and religious rituals, gorging on delicious spicy food, applying aloe vera cream to sunburned skin, wading through rice paddies, getting drenched to the bone by heavy monsoon rains, and gawking at breath-taking scenery; made it a journey of epic proportions! The result is the book, THAILAND 180º. Later, they traveled extensively through Myanmar, Malaysia, and India, gathering a massive collection of 180º photos. They currently live in Chiang Mai where they continue to blog and are now working on a CHIANG MAI 180º book.
Here’s How to Order Your Copy of THAILAND 180º Collectors EditionToday!
In Thailand —>>>http://www.thailand180.com/thaiorder.html
The Rest of the world: We are offering our book on Amazon.com, below list price and I’ll pay for the shipping within the United States! http://amzn.to/1knDPRR
Not Familiar with Our Book???
This show details the origin of 180 Books, a series of art/travel books illustrated with a circular fisheye lens. By using infographics, pictures from our THAILAND 180º book, and never seen before images from our vault, we’ll demonstrate this unique lens and present our unique books.
Also, because there’s nothing to watch on TV, here’s a trailer about our book, “THAILAND 180”
Above is an interactive map of Thailand. If you click on a marker it reveals a photo from our THAILAND 180º book and a link to our blog article about the photo. Go Ahead~ Start Exploring ~Have Some Fun!